เอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ เดินทางไปยังวัดพระธาตุเขี้ยวแก้วเพื่อหารือถึงความร่วมมือกับศรีลังกาในด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงช้างและการพัฒนาบุคลากร

เอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ เดินทางไปยังวัดพระธาตุเขี้ยวแก้วเพื่อหารือถึงความร่วมมือกับศรีลังกาในด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงช้างและการพัฒนาบุคลากร

วันที่นำเข้าข้อมูล 7 ก.ค. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 7 ก.ค. 2566

| 407 view

เอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ เดินทางไปยังวัดพระธาตุเขี้ยวแก้วเพื่อหารือถึงความร่วมมือกับศรีลังกาในด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงช้างและการพัฒนาบุคลากร

เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2566  ออท. ได้เดินทางไปยังวัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี ตามคำเชิญของ นาย Pradeep Nilanga Dela Nilame (Chief Custodian) ไวยาวัจกรของวัดพระธาตุเขี้ยวแก้วซึ่งดูแลพลายประตูผา หรือ Thai Raja ในปัจจุบัน ออท. แจ้งให้นาย Pradeep ทราบว่า ทางการไทยมีดำริที่จะส่งเสริมความร่วมมือกับศรีลังกาในด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงช้าง รวมทั้งการพัฒนาบุคลากร อาทิ สัตวแพทย์และควาญ โดยจะมีคณะผู้แทนไทยจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เดินทางมาหารือในรายละเอียดกับมหาวิทยาลัย Peradeniya ของรัฐ ที่มีคณะสัตวแพทยศาสตร์ เพียงแห่งเดียวในศรีลังกาต่อไป หลังจากการหารือ นาย  Pradeep  และ Dr. Ashoka Dangolla หัวหน้าภาควิชา Veterinary Clinical Science ได้เชิญ ออท. ไปดูพลายประตูผา Thai Raja ที่วัด Suduham Pola ซึ่งอยู่ในเมืองแคนดี ห่างจากวัดพระธาตุเขี้ยวแก้วประมาณ 3 กม. พบว่า พลายประตูผา อยู่ในบริเวณลานโล่ง เป็นลานปูน และลานดิน มีเชือกกั้นอาณาเขตบริเวณที่อยู่ ล่ามโซ่ขาหน้าสองขาติดกับต้นไม้ใหญ่สองต้น และล่ามโซ่ขาหลัง 1 ขา จากการสังเกตพบว่าโซ่ขาหลังไม่ได้ตึงมากนัก มีระยะผ่อนได้ จากการที่ช้างพลายประตูผาสามารถขยับตัวได้ในระดับหนึ่ง และสามารถยืนในท่าทางธรรมชาติได้ ไม่ได้ถูกดึงรั้งจนเกินไป นอกจากนี้ พลายประตูผา อยู่ในช่วงตกมัน แต่ยังสามารถกินอาหาร ได้แก่ ใบปาล์ม kithul หญ้า อ้อย ได้ตามปกติ ในช่วงกว่า 30 นาที ที่สังเกตอาการ แม้มีผู้คนมากมาย พลายประตูผา ไม่ได้แสดงอาการดุดัน และควาญประจำตัวป้อนอาหารในระยะปลอดภัยตามปกติ

ออท. ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนศรีลังกาว่า ทางการไทยมิได้มีความประสงค์ที่จะนำช้างพลายประตูผากลับประเทศไทย เป็นที่ทราบกันดีว่า ภารกิจ (การส่งมุธุราชาไปรักษาอาการป่วยที่ประเทศไทย) ได้สร้างความตระหนักรู้อย่างยั่งยืนในเรื่องสิทธิ การเลี้ยงดูและดูแลรักษาช้างและสัตว์ประเภทอื่น ๆ ให้ดียิ่งขึ้นในทั้งสองประเทศ ซึ่งจากนี้ไป เราคงจะต้องเน้นเรื่องความร่วมมือในการทำงานร่วมกันสำหรับอนาคต

เอกสารประกอบ

32B949053657DF893A077442B202D1935C5C1546.jpg
3C970067038C3058794481E2A9B247FD49D59256.jpg
8E28CD0D4CE0B6B333183BCCCFB866295D4075FF.jpg
04440164DB5F16DB9224A7D7CBFE65BF29C58A7F.jpg
C877253F4DA964FED53964A93E96CD1D2EB3D0EE.jpg