ทูตต่างประเทศยื่น(พระราช)สาส์นตราตั้งต่อประธานาธิบดีศรีลังกา

ทูตต่างประเทศยื่น(พระราช)สาส์นตราตั้งต่อประธานาธิบดีศรีลังกา

วันที่นำเข้าข้อมูล 25 ก.ย. 2555

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 3,586 view

 

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2012 หนังสือพิมพ์ศรีลังกาหลายฉบับได้ลงข่าวทูตต่างประเทศ 6 ประเทศได้ยื่น(พระราช)สาส์นต่อประธานาธิบดีศรีลังกา มีรายงานข่าวสั้นๆ ดังนี้

Four new ambassadors and two high commissioners taking assignments in Sri Lanka presented their credentials to President Mahinda Rajapaksa today (March 12) at a ceremony held in the President's Office at the Presidential Secretariat in Colombo.

The new diplomats assuming duties were, of Namibia Samuel K. Mbambo, Ambassador of Jordan Mohamad Sharari El- Bakheit El- Fayez, Ambassador of Myanmar U. Myo Lwin, High Commissioner of Australia Ms. Robyn Mudie, Ambassador of Greece Ioannis E Raptakis, and Ambassador of Thailand Poldej Worachat.

The Deputy Minister of External Affairs, Neomal Perera, and Secretary to the President Lalith Weeratunga were also present at the event.

 ในทางการทูตแล้ว การที่ผู้แทนการทูตของประเทศหนึ่งจะไปทำหน้าที่ได้ต้องมีการทำพิธีเข้ารับ ตำแหน่งอย่างเป็นทางการ เรียกว่าการยื่น(พระราช)สาส์นตราตั้ง จากประมุขหรือหัวหน้ารัฐบาลของประเทศผู้ส่งต่อประมุขหรือหัวหน้ารัฐบาลของ ประเทศผู้รับ

เช่นในข่าวนี้ ทูต 4 ประเทศและ High Commissioner หรือข้าหลวงใหญ่ (ประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ) 2 ประเทศได้ยื่น(พระราช)สาส์นตราตั้งต่อประธานาธิบดีศรีลังกาซึ่งมีผลทำให้ทูต นั้นเป็นผู้แทนที่มีอำนาจเต็มสมบูรณ์อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันนั้น

พิธีนี้เป็นพิธีทางการทูตสากล มีรูปแบบต่างกันไปตามแต่ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละประเทศ สำหรับศรีลังกา จัดให้มีขบวนทหารม้า ขบวนรถมอเตอร์ไซด์และรถนำคณะผู้แทนทั้ง 6 ประเทศ เดินทางไปยังสถานที่ที่กำหนด เมื่อถึง แต่ละประเทศจะได้เข้ายื่น(พระราช)สาส์นกับมือของประธานาธิบดีและมีโอกาสได้ สนทนาสั้นๆกับประธานาธิบดีในเรื่องความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกัน มีการลง นามในสมุดเยี่ยม เป็นอันเสร็จพิธี

เป็นพิธีที่เรียบง่ายแต่ก็มีเกียรติ เป็นอีกพิธีหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงอธิปไตยของประเทศและความสัมพันธ์อันราบรื่นระหว่างกัน

หลังจากเป็นเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม  Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary    แล้ว ก็ถึงคราวที่จะต้องทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้เต็มความสามารถเพื่อ ประโยชน์ของประเทศและของระหว่างประเทศต่อไป