วันที่นำเข้าข้อมูล 14 ก.ย. 2562
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส "O-A" (Long Stay)
1. คุณสมบัติของผู้ร้อง
1.1 บุคคลต่างด้าว อายุ 50 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไป (นับถึงวันยื่นคำร้อง)
1.2 ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
1.3 ไม่มีประวัติที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ทั้งต่อประเทศไทย และต่อประเทศที่ตนมีสัญชาติหรือประเทศที่ตนมีถิ่นพำนัก
1.4 มีสัญชาติหรือมีถิ่นพำนักถาวรในประเทศที่ตนยื่นคำร้อง
1.5 ไม่เป็นโรคต้องห้ามตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ.2535)
1.6 ไม่อนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย
2. คุณสมบัติของผู้ร้อง
2.1 หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้ได้ไม่น้อยกว่า 1 ปีครึ่ง
2.2 แบบฟอร์มขอรับการตรวจลงตรา (พร้อมรูปถ่าย) จำนวน 3 ชุด
2.3 แบบฟอร์มประวัติส่วนตัว
2.4 สำเนาบัญชีเงินฝาก (Bank Statement) จำนวนเทียบเป็นเงินไทยไม่น้อยกว่า 800,000 บาท หรือหนังสือ
รับรองรายได้ (ฉบับจริง) เดือนละไม่น้อยกว่า 65,000 บาท หรือมีบัญชีเงินฝากและรายได้ (ต่อเดือน x 12)
รวมกันไม่น้อยกว่า 800,000 บาท
2.5 ในกรณีแสดงสำเนาบัญชีเงินฝาก ให้แสดงหนังสือรับรองจากธนาคาร (ฉบับจริง) ด้วย
2.6 ใบรับรองประวัติอาญชากรรม (Criminal Record) จากประเทศทีตนมีสัญชาติ หรือจากประเทศที่ตนมีถิ่นพำนัก
(ใบรับรองมีอายุไม่เกิน 3 เดือน)
2.7 ใบรับรองแพทย์จากประเทศที่ยื่นคำร้องขอ ที่แสดงว่าไม่เป็นโรคต้องห้าม ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 14 (พ.ศ.2535)
(ใบรับรองมีอายุไม่เกิน 3 เดือน)
2.8 ในกรณีมีความประสงค์จะนำคู่สมรสเข้ามาพำนักอยู๋ในราชอาณาจักรด้วย แต่คู่สมรสไม่มีคุณสมบัติที่จะขอ "O-A" ได้
ให้แสดงหลักฐานทะเบียนสมรสด้วย
(คู่สมรสจะได้รับการพิจารณาให้ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส "O")
3. คุณสมบัติของผู้ร้อง
3.1 ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ร้อง และเอกสารให้ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ (เอกสารในข้อ 2.4 - 2.8 จะต้องได้รับ
การรับรองจาก Notary Public)
3.2 เมื่อให้การตรวจลงตราแล้ว ให้รายงานให้กระทรวงฯ ทราบในโอกาสแรก (ทางโทรเลข)
3.3 จัดส่งสำเนาเอกสารในข้อ 2 (ทั้งหมด) ให้กระทรวงฯ 2 ชุด (ทางถุงเมล์) เพื่อกระทรวงฯ จัดส่งต่อให้สำนักงาน
ตรวจคนเข้าเมือง 1 ชุด
3.4 สรุปรายงานสถิติการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส "O-A" ให้กระทรวงฯ และสตม. ทราบเดือนละ 1
ครั้ง
4. คำแนะนำสำหรับคนต่างด้าว เมื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว
4.1 เมื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรครบ 90 วัน จะต้องรายงานตนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และครั้งต่อไปต้องรายงาน
ตนทุกๆ 90 วัน ซึ่งสามารถรายงานตนต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ณ ท้องที่ที่ตนพักอาศัย หรือกรณีไม่มีด่าน
ตรวจคนเข้าเมือง ให้รายงานที่สถานีตำรวจในท้องที่ที่ตนพักอาศัย
(การรายงานตนสามารถรายงานโดยส่งทางไปรษณีย์ได้โดยปฏิบัติดังนี้
ส่งแบบฟอร์มการแจ้งที่กำหนด (แบบ ตม. 47) พร้อมด้วยสำเนาหนังสือเดินทางที่มีรูปถ่าย, รายละเอียด
เกี่ยวกับบุคคลต่างด้าว เฉพาะหน้าที่ปรากฎการตรวจลงตราประทับขาเข้าครั้งล่าสุด หากเป็นการแจ้งครั้งที่ 2 ขึ้น
ไปให้แนบใบตอบรับการแจ้งครั้งก่อนมาแสดงด้วย โดยสอดซองเปล่าติดแสตมป์จ่าหน้าซองถึงบุคคลต่างด้าวผู้แจ้ง
ส่งมาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ภายใน 7 วัน ก่อนครบกำหนดมายัง งาน 1 กก.4บก.อก.สตม. สำนักงาน
ตรวจคนเข้าเมือง ถนนสาทรใต้ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120)
4.2 เมื่อพำนักในราชอาณาจักรครบ 1 ปี หากประสงค์จะพำนักอยู่ต่อไป ให้ยื่นคำขออยู่ต่อได้ที่สตม. โดยแสดงเอกสาร
หรือหลักฐานการโอนเงินหรือหลักฐานการมีเงินฝากในราชอาณาจักร จำนวนไม่น้อยกว่า 800,000 บาท หรือ
หนังสือรับรองรายได้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรวมกันปีละไม่น้อยกว่า 800,000 บาท
4.3 หากมีคู่สมรสขออยู่ต่อด้วย ให้เตรียมเอกสารหลักฐานการสมรสมาแสดงด้วย