20 พบแล้ว...ช้างพระราชทานเชือกที่สอง สง่างามและร่าเริง

20 พบแล้ว...ช้างพระราชทานเชือกที่สอง สง่างามและร่าเริง

วันที่นำเข้าข้อมูล 25 ก.ย. 2555

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 6,100 view

 

ตามหาช้างพระราชทาน พบแล้วเชือกที่สอง

ผมเคยเขียนบันทึก ที่05 และ 06 ตามหาช้างพระราชทานและข่าวช้างพระราชทาน ไปแล้ว  http://www.gotoknow.org/blogs/posts/481100    และhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/481123  และได้เล่าว่าเจอช้างพลาย 1 เชือกแล้ว ชื่อราชา อยู่ที่วัด Kande Vihara โดยราชาถูกจัดให้อยู่ตามธรรมชาติใต้โคนต้นไม้ในป่าละเมาะหลังวัดและทานแต่ ซางมะพร้าว และเท่าที่ผมได้ไปดู ช้างราชาอาจจะตกมันบ่อยและไม่เชื่องนัก  จึงมิได้ถูกนำไปรับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยววัดเหมือนช้างศรีลังกาที่ชื่อ กุมารีซึ่งน่ารักและรับแขกด้วยดี

นอกจากเรื่องที่วัดมิได้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเรื่องช้างราชา โดยมิได้ระบุว่าเป็นช้างพระราชทานแต่อย่างใด บอกแต่เพียงว่าเป็นช้างที่ได้รับจากประธานาธิบดีศรีลังกาเท่านั้น ผมก็รู้สึกไม่ค่อยดีแล้ว ยิ่งได้ไปเห็นเจ้าราชาอาศัยอยู่ในป่าละเมาะแบบธรรมชาติตามที่คนศรีลังกานิยม ก็รู้สึกว่าไม่ค่อยถูกต้องเพราะมิใช่ช้างธรรมดาแต่เป็นช้างพระราชทานเพื่อ เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับศรีลังกา

จากการค้นข้อมูลในเน็ตก็พบว่าช้างที่ศรีลังกาได้จากประเทศไทยนั้นมิใช่มี ราชาเชือกเดียวแต่มี 2 เชือกที่มาพร้อมกัน ทำให้ผมต้องค้นหาช้างต่อไป ในที่สุดก็ทราบว่ามีช้างพลายอีกเชือกหนึ่งชื่อ Kandula อยู่กับวัดเกลานียะ ซึ่งผมเคยไปเยือนมาแล้วแต่ไม่ทราบว่ามีช้างไทยอยูเพราะช้างถูกนำไปเลี้ยงไว้ ที่อื่น คือที่ Ingiriya นัยว่าเพราะเป็นสถานที่เหมาะสมมีลำธารมีป่าเหมาะสำหรับช้างจะอาศัยได้ตาม ธรรมชาติ เมื่อทราบดังนี้ ผมจึงเดินทางไปตามหาช้างกันดูล่าในไม่ช้า

Ingiriya อยู่ห่างจากโคลัมโบประมาณ 1 ชม. เมื่อถึงสถานที่ รถของเราต้องเลี้ยวลงข้างทางเข้าไปในป่าละเมาะแห่งหนึ่งโดยใกล้ๆ มีลำธารเล็กๆ ไหลผ่านถนน ผมมองเห็นอะไรบางอย่างอยู่ในน้ำ จะว่าเป็นโขดหินก็ไม่แน่ใจเพราะสีดำๆ พอลงจากรถไปดูริมลำธารจึงพบว่าเป็นช้างนั้นเอง ช้างนอนแช่ในน้ำอย่างไม่ไหวติง ดูท่าทางมีความสุขเหลือเกิน ตัวนั้นไม่ใช่ช้างจากประเทศไทย ลุงคนหนึ่งอายุมากแล้วบอกผมพร้อมชี้ให้ดูช้างอีกตัวหนึ่งที่อยู่ริมลำธารถัด ไปซึ่งผมมองไม่เห็นเพราะตลิ่งสูง ตัวนี้คือกันดูลา ช้างจากประเทศไทย

กันดูลาตัวใหญา ขาใหญ่มาก อยู่ในท่าที่นอนตะแคงขวาแช่น้ำอย่างมีความสุข งวงเล็กๆ ส่ายไปมาในน้ำแล้วก็พ่นน้ำออกมาทำให้รู้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิต มิฉะนั้นจะดูเหมือนโขดหินในลำธาร

ควาญช้างชื่ออุบะเสนากับชายที่ชื่อว่าราชาซึ่งเป็นผู้ดูแลช้าง เดินลงน้ำไปในลำธารเพื่อปลุกกันดูลาเพื่อที่จะเรียกขึ้นมาให้ทูตไทยได้พบ กันดูลาคงถูกขัดจังหวะความสุข ค่อยๆ พลิกตะแคงตัวช้าๆ ลุกจากน้ำด้วยท่าทางที่น่าชมมาก แม้จะอยู่บนตลิ่งห่างไปกว่า 5-6 เมตร ผมก็รู้สึกว่ากันดูลาเป็นช้างพลายที่มีขนาดใหญ่มาก และสง่างามด้วยสมกับเป็นช้างจากไทย จะบอกว่าหล่อก็เกรงใจแต่เป็นช้างหน้าตาดีจริงๆ

 

กันดูลาแสนรู้มากเมื่อคนเลี้ยงช้างขึ้นขี่คอก็ยกโซ่จากในน้ำส่งให้โดยดี จากนั้นก็ค่อยๆ เดินขึ้นตลิ่งมาพบทูตไทยอย่างเป็นงานเป็นการ เป็นภาพที่งดงามของช้างเยื้องยาตรที่ผมเพิ่งเคยเห็น จากในลำธาร กันดูลาเดินตรงรี่เข้ามาหาทูตและคณะทำเอาพวกเราต้องถอยห่าง ดีที่ควาญช้างคุมมาเองผมเลยรู้สึกปลอดภัยและทักทายเจ้ากันดูลาอย่างใกล้ชิด และเหมือนจะรู้ว่าเรานำผลไม้มาให้ กันดูลาเลยมาหยุดตรงหลังรถเอางวงดมไปมาคงจะได้กลิ่นกล้วยที่เราเตรียมมา จากนั้นผมและคณะก็นำกล้วย แตงโมออกมาป้อนกันดูลาอย่างมีความสุขทั้งคนทั้งช้าง

 

เห็นช้างอยู่ในสภาพที่เป็นธรรมชาติมีควาญช้างและคนดูแลที่รักช้างแบบนี้ ผมก็รู้สึกดีและพอใจที่เห็นความสุขความร่าเริงของช้าง ควาญบอกว่ากันดูลาเป็นช้างที่สง่างาม ได้ทำหน้าที่อัญเชิญพระบรมสารีรกธาตุเปราเฮรามาแล้วกว่าร้อยครั้งและเป็น ช้างที่มีชื่อเสียงในบริเวณนี้ ระหว่างที่ผมสนทนากับกันดูลานั้นก็มีคนศรีลังกาขับรถผ่านมาก็มาร่วมวงด้วย

ผมกับคณะอยู่กับเจ้ากันดูลาพอสมควรเพราะผลไม้ที่ซื้อมาหมดแล้วและก็อยาก ให้กันดูลาลงไปเล่นน้ำต่อ จึงลากลับและคิดว่าจะต้องแวะไปเยี่ยมอีกในอนาคต

 

 

ในช่วงเย็นผมได้พบกับปลัดกระทรวงการต่างประเทศศรีลังกา Karunatilaka Amunukama และภรรยาจึงเล่าเรื่องกันดูลาให้ฟัง ทั้งสองคนบอกว่าดีใจมากที่ได้รับทราบเรื่องกันดูลาเพราะสมัยที่ตนเป็นทูตศรี ลังกาประจำประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินโครงการนี้เองและจำได้ว่าควาญช้างจากสุรินทร์เมื่อมาส่งช้าง พลายทั้งสองเชือกแล้วถึงกับหลั่งน้ำตาด้วยความเสียใจเพราะเป็นช้างที่เคย เลี้ยงมาเหมือนลูก ท่านปลัดกรุณาฯ บอกว่าในสมัยนั้นช้างทั้งงคู่ยังตัวเล็กเพราะเป็นลูกช้าง ผมจึงได้ให้ดูภาพถ่ายที่ได้ไปบันทึกมา ท่านถึงกับตื่นเต้นเพราะบัดนี้ช้างตัวใหญ่ขึ้นมาก

กันดูลามีสิ่งหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์คืองาที่ยาวและสวยงาม สมแล้วที่ได้รับหน้าที่ที่ทรงเกียรตัญเชิญแห่พระบรมสารีริกธาตุเป็นประจำ แต่ในขณะเดียวกันผมก็อดคิดถึงราชามิได้ ราชาดูตัวไม่ใหญ่เท่ากันดูลาและไม่ร่าเริงเท่ากันดูลาอย่างเห็นได้ชัด ที่อยู่อาศัยก็ต่างกันและความสุขก็คงไม่เท่ากัน

ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือมีจิตใจรักสุขเกลียดทุกข์ ความสุขของช้างคนเราสัมผัสได้แน่นอน จากกรณีของกันดูลา ผมรู้สึกอย่างชัดเจนถึงความสุขของกันดูลาที่ออกมาจากกริยาท่าทางและแววตารวม ทั้งผิวพรรณ ผมได้สัมผัสเจ้ากันดูลาก็พบว่าหนังนิ่ม อาจเป็นเพราะเพิ่งขึ้นจากน้ำก็เป็นได้ กันดูลาสนิทสนมกับผู้คนและไม่มีอาการระแวงเลย ต่างกับเจ้าราชาอย่างชัดเจน

ความในใจของผมที่เคยบอกในบันทึกก่อนคือถือว่าช้างทั้งคู่มาทำหน้าที่ผู้ แทนประเทสในต่างต่างแดน ไม่ต่างจากตัวผมเอง หากจะช่วยช้างทั้งสองเชือกให้มีความสุขมากขึ้น ผมจะหาทางทำอย่างเต็มที่ ฝากทุกท่านที่รักช่วยระดมสมองด้วยว่าเราจะช่วยราชากับกันดูลาอย่างไร ......ฝากไว้ให้กัลยาณมิตรคิดเป็นการบ้านต่อครับ